วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ฮิปปี้ บุปผาชน กับเทศกาล Wood stock


จอห์น เกรียร์สัน หัวหอกคนสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวในวงการภาพยนตร์สารคดีประเทศอังกฤษในช่วงทศวรรษที่ 30 ให้คำนิยามหนังในทางนี้ว่า เป็นงานสร้างสรรค์ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของความเป็นจริง และนั่นก็เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญในการสร้างหนังสารคดีที่มุ่งนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาให้ผู้ชมได้รับรู้ แม้ว่าในทุกวันนี้ด้วยเหตุผลทางการตลาดเป็นสำคัญทำให้เราได้ชมภาพยนตร์ในแนวนี้น้อยลง แต่ถ้ามองย้อนกลับไปแล้ว โลกภาพยนตร์ก็มีสารคดีชิ้นดีมากมายให้เราได้พูดถึงอยู่ไม่น้อย
            ในช่วงทศวรรษที่ 60 สหรัฐอเมริกาถูกเรียกว่าเป็นยุคของ บุปผาชน เมื่อชนชั้นแรงงานในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สามารถพัฒนาตัวเองจนขึ้นมาเป็นชนชั้นกลางของประเทศได้ จากความมั่งคั่งที่เพิ่มมากขึ้นนี้เองทำให้วัยรุ่นเกิดความฟุ่มเฟื่อยมากขึ้น กลายเป็นกลุ่มคนที่ไม่เคยต้องเผชิญหน้ากับความยากไร้ พอมากขึ้นก็เกิดกระแสต่อต้านลัทธิวัตถุนิยม คนหนุ่มคนสาวในสมัยนั้นต่างปลีกตัวออกจากสังคม เรียกตัวเองว่า ฮิปปี้ หันหน้าเข้าหาดนตรีและยาเสพติด แสวงหาความรัก อิสรเสรี และความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาคิดว่าหาไม่ได้แล้วในสังคมกระแสหลัก

 Woodstock เป็นชื่อของหนังสารคดีในปี 1970 ที่ถ่ายทอดมหกรรมดนตรีที่เป็นการรวมตัวกันของฮิปปี้กว่า 5 แสนคน พวกเขามาจับกลุ่มกันเพื่อประกาศจุดยืนในการต่อต้านสงครามเวียดนามที่คร่าชีวิตคนหนุ่มสาวไปมากมาย และเป็นการทำให้โลกทั้งใบเห็นถึงพลังของพวกตน งานจัดขึ้นที่ฟาร์มขนาด 600 เอเคอร์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองวู้ดสตอก กรุงนิวยอร์คไปทางตะวันตกเฉียงใต้ไปประมาณ 63 กิโลเมตร ในระหว่างวันที่ 15-18 สิงหาคม 1969 ว่ากันว่านี่คือ 3 วันของของสันติภาพและดนตรี
            บทสรุปของเทศกาลดนตรีในคราวนั้น มีผู้จบชีวิตลงทั้งสิ้น 3 คน หนึ่งจากการเสพยาเกินขนาด หนึ่งจากอุบัติเหตุถุงนอน และอีกหนึ่งจากนั่งร้านพัง ยังไม่นับรวมการแท้งลูกอีกสามราย ขณะเดียวกันที่นี่ก็เป็นสถานที่ให้กำเนิดชีวิตใหม่ของเด็ก 2 คนด้วยเช่นกัน งานในครั้งนั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์วงการดนตรี เช่นกันกับที่นิตยสาร Rolling Stone ที่จัดให้ 3 วันในวู๊ดสตอก ติดหนึ่งใน 50 เหตุการณ์ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของดนตรีร็อคแอนด์โรลไปตลอดกาล

พอออกฉายในปี 1970 ผลงานของ  ไมเคิล วัดไลช์ ที่มีลูกมืออย่างมาร์ติน สกอร์เซซี่, จอร์จ ลูคัส และ เทลม่า ชูนเมคเกอร์ สามารถคว้ารางวัลออสการ์ในฐานะภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมมาครองได้สำเร็จ ทั้งยังได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องหมายของวัฒนธรรมโดย United States Library of Congress ในปี 1994 ภาพยนตร์ในฉบับ Director’s Cut ก็ออกจำหน่าย พร้อมทั้งมีการเพิ่มภาพฟุตเทจที่ยังไม่เคยเห็นที่ไหน รวมไปถึงภาพการแสดงของวงเจฟเฟอร์สัน แอร์เพลนและเจนิส จอพลิน เข้ามา 

ในวันที่ 15-17 สิงหาคม ปี 1969 โลกแห่งดนตรีได้ถูกบันทึกไว้เป็น “ตำนาน” อีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์  กับปรากฏการณ์ทางดนตรี ที่คลื่นมนุษย์นับแสนคน มาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างอิสระเสรี ภายใต้บรรยากาศ “สันติภาพ และ เสียงดนตรี” ในเทศกาลดนตรี “อภิมหายักษ์” ที่ชื่อว่า วู๊ดสต็อค (Woodstock)

            เทศกาลดนตรีวู๊ดสต๊อค จัดขึ้นในพื้นที่ขนาด 600 เอเคอร์ ที่เรียกกันว่า “ไวท์เลค” อยู่ในเขตเบเธล (Bethel) ห่างออกไปทางเหนือของนิวยอร์คราว 100 ไมล์ ภายใน ยาสเกอร์ ฟาร์ม ซึ่งเป็นไร่อัลฟัลฟาของ แม็กซ์ ยาสเกอร์ (Max Yasger) และผู้จัดงานต้องจ่ายค่าเช่าที่สูงถึง 75,000 ดอลล่าร์ เพื่อเช่าที่สำหรับจัดคอนเสิร์ตด้วยระยะเวลา 3 วัน 3 คืน

             เทศกาลดนตรี Woodstock’64 บันทึกเรื่องราวต่างๆไว้ในประวัติศาสตร์ของการแสดงดนตรีเอาไว้มากมาย ตั้งแต่จำนวน “คลื่นมนุษย์” ที่เข้ามาชมงานอย่างมากมายมหาศาลกว่า 500,000 คน มีผู้ป่วยมารับการรักษาที่ห้องพยาบาลสนามถึง 5,162 คน มีเด็กคลอดใหม่ในงานหลายคน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย รายแรกเสพย์ยาเกินขนาด...รายที่สองพลัดตกลงมาจากหอไฟส่องหน้าเวที และรายสุดท้ายถูกรถขนของเข้างานชนตายก่อนหน้างานเริ่ม 1 วัน มีผู้ถูกจับกุมไปสงบสติอารมณ์ที่เมืองเบเธล 177 คน  มีผู้นำบัตรมาขึ้นเงินคืน 18,000 ใบ เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปถึงงานได้ เพราะรถติดอยู่บนถนนที่จะเข้าสู่งาน และเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว ได้แค่จุดคุ้มทุนก็ถือว่าบุญแล้ว!

            นั่นมันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 1964 หรือปีแรกที่มีการจัดงานเมหกรรมดนตรีวู๊ดสต๊อคขึ้นมา...หลังจากนั้นมีการจัดงานมหกรรมดนตรีวู๊ดสต๊อคสืบต่อกันมาอีกหลายครั้ง แต่ดูเหมือนว่าเสน่ห์และมนต์ขลังมีไม่มากเท่าแบบฉบับเดิมๆของปี ’64 โดยเฉพาะกับการจัดในปีหลังๆ ที่ยุคสมัยของการชมคอนเสิร์ตเปลี่ยนไป ผู้เข้าชมงานส่วนใหญ่จะเป็น “ขาร็อค” ที่อารมณ์ค่อนข้างรุนแรง และมักจะมีการกระทบกระทั่งกันแรงๆ จนถึงขั้นใช้เครื่องทุ่นแรงเข้าตะลุมบอนกันได้เลือดอยู่เสมอ ซึ่งผู้จัดเองก็ไม่สามารถควบคุมได้ จนเจ้าหน้าที่ทางบ้านเมืองต้องสั่งยกเลิกการแสดงไปเลยก็มี ซึ่งส่งผลให้การสืบต่อตำนานมหกรรมดนตรีที่ยิ่งใหญ่ของวู๊ดสต๊อคค่อยๆเลือนหายไปในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น